ทำความรู้จักโรคสายตา มองเห็นแบบนี้เสี่ยงโรคตาแบบไหน ?

ทำความรู้จักโรคสายตา มองเห็นแบบนี้เสี่ยงโรคตาแบบไหน ?

อาการมองเห็นที่ผิดปกติ อาจจะบ่งบอกถึงโรคสายตาที่หลากหลาย ขึ้นอยู่กับลักษณะของการมองเห็น ซึ่งแต่ละลักษณะการมองเห็นจะเสี่ยงโรคตาแบบไหนกันนั้น มาดูกันค่ะ

1. โรคตาขี้เกียจ

โรคตาขี้เกียจหรือแอมไบลโอเปีย (Amblyopia) เป็นภาวะที่สมองรับภาพจากตาข้างใดข้างหนึ่งไม่ดี หรือรับภาพจากตา 2 ข้างไม่เท่ากัน ส่งผลให้การมองเห็นของตาข้างนั้นด้อยลง มักพบในเด็กเล็กอายุ 3-6 ปี

อาการของโรคตาขี้เกียจ
การมองเห็นที่ไม่ชัด ตาข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง แม้จะใส่แว่นหรือคอนแทคเลนส์เพื่อแก้ไขค่าสายตาแล้ว
- ตาเข ตาข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้างจ้องไปทางอื่น ไม่ได้จ้องไปในทิศทางเดียวกัน
- ตาสองข้างไม่ทำงานประสานกัน ผู้ป่วยอาจมีปัญหาในการมองเห็นภาพสามมิติ หรือการประเมินระยะทาง
- มีสายตาผิดปกติ ผู้ป่วยอาจมีสายตาสั้น ยาว เอียง หรือสายตาไม่เท่ากันระหว่างตาสองข้าง
- เพ่งมองใกล้ๆ อาจชอบเอียงหน้าเวลาอ่านหนังสือ หรือวาดรูป
- ถูตาบ่อย เด็กอาจถูตาข้างที่มองเห็นไม่ชัดบ่อยๆ

วิธีการเช็กอาการง่ายๆ ด้วยตัวเอง 
ปิดตาทีละข้างสลับซ้ายขวา หากระดับการมองเห็น 2 ข้างแตกต่างกัน โดยเฉพาะในเด็กอาจเป็นภาวะตาขี้เกียจ ควรรีบมาพบแพทย์

2. โรคจุดภาพชัดที่จอตาเสื่อม

โรคจุดรับภาพชัดจอตาเสื่อม หรือ AMD เป็นโรคที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ เกิดจากการเสื่อมของบริเวณจุดรับภาพชัด (Macula) บนจอประสาทตา ทำให้สูญเสียการมองเห็นส่วนกลางของภาพ แต่การมองเห็นด้านข้างยังคงปกติ โรคนี้เป็นสาเหตุสำคัญของการสูญเสียการมองเห็นในผู้สูงอายุ

อาการของโรคจุดรับภาพชัดจอตาเสื่อม
 มองเห็นภาพตรงกลางเบลอ มัว หรือสีซีดลง
- มองเห็นจุดดำหรือเงาตรงกลางภาพ
- มองเห็นภาพบิดเบี้ยว เส้นตรงดูเป็นเส้นโค้ง
- ต้องใช้แสงสว่างมากขึ้นในการอ่านหรือทำกิจกรรม
- มองเห็นไม่ชัดในที่แสงน้อย

วิธีการเช็กอาการง่ายๆด้วยตัวเอง 
มองสลับกันแล้วมองเห็นจุดสีดำตรงกลางหรือภาพบิดเบี้ยว

3. โรคต้อหิน

โรคต้อหิน (Glaucoma) เป็นกลุ่มโรคที่เกิดจากความเสื่อมของขั้วประสาทตาและไม่มีอาการใดๆ  ส่งผลให้เกิดการสูญเสียการมองเห็น

อาการของโรคต้อหิน
- การมองเห็นลานสายตาแคบลง เหมือนมองผ่านอุโมงค์
- ตามัว โดยเฉพาะในที่แสงสลัว
- เห็นแสงสะท้อนหรือแสงสีรุ้ง รอบดวงไฟ
- ปวดตา โดยเฉพาะเวลาตอนตื่นนอนใหม่ๆ
- คลื่นไส้ อาเจียน
- ตาแดง

วิธีการเช็กอาการง่ายๆด้วยตัวเอง
จะมองเห็นภาพแคบลง ไม่เห็นด้านข้าง หรือหากปิดตาดูทีละข้างอาจจะมีจุดบอดบางส่วน

Vitreous degeneration, or PVD

4. โรควุ้นตาเสื่อม

วุ้นตาเสื่อม หรือ PVD เป็นภาวะที่วุ้นตาซึ่งเป็นส่วนใสคล้ายเจลที่อยู่ด้านหลังเลนส์ตา เสื่อมสภาพ กลายเป็นน้ำ และหลุดลอกออกจากจอประสาทตา ส่งผลให้เกิดจุดลอยไปมาในดวงตา หรือเห็นเงาดำ ซึ่งอาจส่งผลต่อการมองเห็น

อาการของโรควุ้นตาเสื่อม 
- เห็นจุดลอยไปมา คล้ายลูกน้ำ ใยแมงมุม หรือฟองอากาศ ในดวงตา โดยเฉพาะเมื่อมองแสงสว่าง หรือมองท้องฟ้า
- เห็นแสงวาบ คล้ายฟ้าแลบ หรือแสงแฟลชกล้องถ่ายรูป โดยเฉพาะในที่มืด
- ลานสายตาบดบัง คล้ายม่านบัง โดยเฉพาะเมื่อมองเห็นจุดลอยไปมา
- สายตาพร่ามัว หรือมองไม่ชัด

วิธีการเช็กอาการง่ายๆด้วยตัวเอง 
สังเกตการมองเห็นหากเห็นเป็นจุดดำๆ  หรือหยากไย่ลอยไปลอยมา หรือบางครั้งมีแสงไฟแลบร่วมด้วย

Cataracts

5. โรคต้อกระจก

โรคต้อกระจก เป็นภาวะที่เลนส์ตาซึ่งปกติมีลักษณะใส เกิดการขุ่นมัว ส่งผลต่อการมองเห็น มักพบในผู้สูงอายุ แต่ก็อาจเกิดขึ้นในคนทุกวัยได้เช่นกัน มักจะส่งผลให้การมองเห็นไม่ชัด มัว หรือพร่ามัว

อาการของโรคต้อกระจก 
- มองไม่ชัดเหมือนเดิม รู้สึกเหมือนมีหมอกหรือฝ้าบังสายตา มองเห็นภาพไม่คมชัด โดยเฉพาะในเวลากลางวันหรือแสงจ้า
- มองแสงไฟแย่ลง รู้สึกแสงจ้ากว่าปกติ โดยเฉพาะแสงไฟรถ แสงไฟในบ้าน หรือแสงไฟถนน
- เห็นภาพซ้อน มักพบในบางราย โดยเฉพาะเมื่อมองแสงไฟหรือวัตถุที่มีแสงสะท้อน
- ตาพร่ามัว รู้สึกตาพร่ามัว มองเห็นสีสันไม่สดใสเหมือนเดิม
- มองเห็นสีเพี้ยน อาจมองเห็นสีเพี้ยน เช่น สีขาวอาจกลายเป็นสีเหลืองหรือสีน้ำตาล

วิธีการเช็กอาการง่ายๆด้วยตัวเอง 
ตาพร่ามัว มองเห็นภาพเบลอ เหมือนมีฝ้าหรือหมอกมาบัง หรือมองเห็นภาพซ้อนและเห็นสีผิดเพี้ยนไปจากเดิม

Better Vision Prestige เข้าใจปัญหาดวงตาของคุณ ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านดางตาโดยทีมจักษุแพทย์และนักทัศนมาตรผู้เชี่ยวชาญ พร้อมให้บริการวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาให้ตรงจุด 

กลับไปยังบล็อก